LK (ยานอวกาศ)
LK (ยานอวกาศ)

LK (ยานอวกาศ)

LK (ภาษารัสเซีย: ЛК, มาจากคำว่า Лунный корабль, Lunniy korabl, แปลว่า ยานดวงจันทร์ (Lunar craft); GRAU index: 11Ф94) เป็นยานลงดวงจันทร์แบบมีคนควบคุมที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอวกาศโซเวียต มันมีหน้าที่ที่คล้ายกับยานลงดวงจันทร์ของอเมริกา (Apollo Lunar Module, LM) มียาน LK จำนวนหนึ่งที่เคยถูกส่งขึ้นไปยังวงโคจรโลกแบบไร้คนขับ แต่ไม่เคยมียาน LK ลำใดที่เคยไปถึงดวงจันทร์เนื่องมาจากการพัฒนาโครงการจรวด N1 ที่จำเป็นต่อการไปยังดวงจันทร์พบกับความล้มเหลว จากการส่งจรวดที่ล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง และการลงดวงจันทร์ครั้งแรกได้ถูกพิชิตโดยนักบินอวกาศของอเมริกาแล้ว จึงทำให้ทั้ง N1 และโครงการ LK ได้ถูกยกเลิกโดยไม่มีการพัฒนาต่อไป[1]

LK (ยานอวกาศ)

เริ่มปฎิบัติงาน 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970
ผู้ผลิต OKB-586
อินคลิเนชั่น 51.5-51.6 องศา
มวลขณะส่งยาน 5,560 ถึง 6,525 กิโลกรัม
ขนาด 5 ลูกบาศก์เมตร
ประเภทภารกิจ การลงจอดบนดวงจันทร์
ยานอวกาศ LK
ประกาศเมื่อ พฤษภาคม ค.ศ. 1974
ผู้ดำเนินการ สหภาพโซเวียต
จรวดนำส่ง Soyuz-L (ทดสอบในวงโคจร)
N1 (ตามแผนการลงดวงจันทร์)
ตำแหน่งปล่อยตัว ไบโคนูร์คอสโมโดรม
การกำจัด เผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลก
ชนิดยานอวกาศ ยานลงดวงจันทร์
ระบบวงโคจร LEO (Kosmos 379 และ Kosmos 398)
MEO (Kosmos 434)
ฐานส่ง Baikonur 31/6
ผู้ดำเนินงาน สหภาพโซเวียต